วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันหยุด เข้าพรรษา"คุณทำอะไร"
ในวันหยุด 5 วัน ท่ามกลางอากาศตอนเช้าที่สดใส ฉันและครอบครัวของฉันไปทำบุณตักบาตร ที่วัดแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน เมื่อเข้าไปถึงวัดก็สัมผัสได้ถึงความสงบร่มเย็นน่าเป็นที่ประทับใจของคนที่ต้องการความสงบเป็นมากๆๆ
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
"ความรู้เรื่อง ช้าง" จังหวัดสุรินทร์
สุรินทร์จังหวัดใหญ่แห่งลุ่มน้ำมูล เป็นจังหวัดที่คนทั่วไปทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ต่างรู้จักกันดีว่าเป็นเมืองช้างกิตติศัพท์ชื่อเสียงความยิ่งใหญ่ ความน่ารัก ความแสนรู้ของช้างจังหวัดสุรินทร์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่มีใครเหมือน ช้างสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับทางจังหวัด และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี นักท่องเที่ยวจะพบเห็นช้างตามร้านอาหาร ช้างเดินอยู่ข้างถนนปะปนกับประชาชนได้อย่างปกติธรรมดาเหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไป แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างช้างกับคนมาช้านาน ชาวสุรินทร์ถือว่าช้างเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กล่าวได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังคำขวัญของจังหวัดที่ว่า “สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม”
เมื่อปี พ.ศ.2498 มีการรวมช้างทั้งหมดในจังหวัดสุรินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก มีช้างรวมกันประมาณ 200 เชือก ที่อำเภอท่าตูม โดยมีนายอำเภอท่าตูมคือ นายวินัย สุวรรณกาศ เป็นผู้จัดขึ้น ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจมาก นายอำเภอจึงดำริจัดงานช้างขึ้นครั้งแรกในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 เป็นการฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ โดยจัดที่บริเวณสนามบินเก่าอำเภอท่าตูม (ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์) การจัดงานครั้งนั้นมีรายการแสดง การเดินขบวนแห่ช้าง การคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็วและยังมีการแสดงรื่นเริงอื่นๆ ประกอบอีกด้วย เช่น การแข่งเรือ แข่งขันกีฬาอำเภอ งานครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะได้การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ปัจจุบันคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.) จึงเสนอกระทรวงมหาดไทย ให้สนับสนุนจัดการแสดงเกี่ยวกับช้างของจังหวัดสุรินทร์เป็นงานประเพณีและงานประจำปี โดยวางแผนประชาสัมพันธ์ทั้งในและนอกประเทศให้ดี งานนี้ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น อ.ส.ท. จึงได้ร่วมมือกับจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่มาฝึกช้าง กำหนดรูปแบบเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว กำหนดงานเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 เป็นปีที่ 2 จัดที่อำเภอท่าตูมเช่นเดิม งานช้างปีที่ 2 ประสบผลสำเร็จด้วยดี การแสดงของช้างในปีต่อๆ มาได้ปรับปรุงรูปแบบให้สวยงาม น่าตื่นเต้นมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในรายการแสดงของช้าง ประกอบด้วยรายการต่างๆ ได้แก่ขบวนช้างพาเหรด ช้างปฏิบัติตามคำสั่ง ช้างแสนรู้ ช้างวิ่งเร็ว ช้างวิ่งข้ามคน ช้างเตะฟุตบอล และขบวนช้างศึก และต่อมาก็มีการแสดงช้างต่อเนื่องมาทุกปีทำให้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้จักช้างสุรินทร์เป็นอย่างดีว่าเป็นจังหวัดที่มีช้างแสนรู้มากที่สุด ต่อมาทางคณะกรรมการเห็นว่าควรย้ายสถานที่แสดงจากอำเภอท่าตูมมายังสถานที่แสดงจากอำเภอท่าตูม มายังสถานที่ใกล้ไปมาสะดวกเพื่อความเหมาะสมจึงได้มาจัดการแสดงช้างที่สนามกีฬาจังหวัด ตั้งแต่ พ.ศ.2505 สมัยนายคำรณ สังขกร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้นสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงที่น่าไปเยี่ยมหมู่บ้านมากที่สุดคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคมเพราะควาญช้างจะกลับมาเก็บเกี่ยวข้าว และนำช้างมาร่วมงานแสดงของจังหวัด ซึ่งจะมีช้างกลับมาอยู่บ้านเป็นจำนวนมาก กรณีที่เดินทางกันมาเป็นกลุ่ม และต้องการให้ช้างมาแสดงให้ดูในวันธรรมดาสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่ผู้ใหญ่บ้านประกิต กลางพัฒนา ผู้ใหญ่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม โทร. 0-1999-1910, 0-1967-5015 หรือที่ว่าการอำเภอท่าตูม โทร.0-4459-1141, 0-4459-1058 ค่าเข้าชมชาวไทย คนละ 50 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท ส่วนการนั่งช้างเที่ยวชมหมู่บ้านหรือลัดเลาะแม่น้ำนั้นก็แล้วแต่จะตกลงราคากันเอง
ข้อมูลช้างเลี้ยง จังหวัดสุรินทร์
ลำดับที่
| พื้นที่ / อำเภอ |
จำนวนช้างทั้งหมด
|
อยู่ในพื้นที่
|
ไป กทม.
|
หากินที่อื่น
|
ไม่ระบุ
|
รวม
| |
(เชือก)
|
คิดเป็น
|
(เชือก)
|
(เชือก)
|
(เชือก)
|
(เชือก)
|
(เชือก)
| ||
1
| อ.เมืองสุรินทร์ |
97
|
19.76%
|
-
|
-
|
-
|
97
|
97
|
2
| อ.จอมพระ |
2
|
0.41%
|
-
|
-
|
2
|
-
|
2
|
3
| อ.ท่าตูม |
263
|
53.56%
|
87
|
35
|
141
|
-
|
263
|
4
| อ.ชุมพลบุรี |
76
|
15.48%
|
-
|
-
|
-
|
76
|
76
|
5
| อ.สังขะ |
23
|
4.68%
|
-
|
-
|
22
|
1
|
23
|
6
| อ.เขวาสินรินทร์ |
27
|
5.50%
|
-
|
-
|
21
|
6
|
27
|
7
| อ.พนมดงรัก |
3
|
0.61%
|
-
|
-
|
3
|
-
|
3
|
รวม
|
491
|
100 %
|
87
|
35
|
189
|
180
|
491
| |
17.72%
|
7.13%
|
38.49%
|
36.66%
|
100 %
|
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์
รายชื่อเจ้าของช้างที่มีช้างในครอบครอง ตั้งแต่ 5 เชือกขึ้นไป
ลำดับ
|
ชื่อ-นามสกุล
|
ที่อยู่ (เจ้าของช้าง)
|
ทะเบียนช้าง
|
ช้างในครอบครอง
|
คิดเป็น
|
1
| นายสินชัย ธนสมุทร | 136/3 ถ.จิตรบำรุง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ | อ.เมืองสุรินทร์ |
16 เชือก
|
3.26%
|
2
| นางพัชรา ดูกิจติเกษม | 67-71 ถ.ปัทมานนท์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ | อ.เมืองสุรินทร์ |
76 เชือก
|
15.48%
|
3
| นายสมโรจน์ ดูกิจติเกษม | ถ.ปัทมานนท์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ | อ.ท่าตูม |
12 เชือก
|
2.44%
|
4
| นายดา จงใจงาม | 50 ม. 13 ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ | อ.ท่าตูม |
7 เชือก
|
1.43%
|
5
| นายประกิต กลางพัฒนา | 30 ม. 9 ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ | อ.ท่าตูม |
9 เชือก
|
1.83%
|
6
| นายมาก ศรีสุข | 20 ม.7 ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ | อ.ท่าตูม |
12 เชือก
|
2.44%
|
7
| นายบุญมา จงใจงาม | 39 ม. 11 ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ | อ.ท่าตูม |
7 เชือก
|
1.43%
|
8
| นายเปา จงใจงาม | 13 ม.3 ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ | อ.ท่าตูม |
7 เชือก
|
1.43%
|
9
| นายสุริยะ ร่วมพัฒนา | 91 ม. 1 ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ | อ.ท่าตูม |
18 เชือก
|
3.67%
|
10
| นายวัน เรียงเงิน | ม. 4 ต.เขวาสินรินทร์ กิ่ง อ.เขวาฯ จ.สุรินทร์ | กิ่ง อ.เขวาฯ |
8 เชือก
|
1.63%
|
วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ท่องเที่ยวไทย
ท่องเที่ยวไทยกันไหมคะ
เชียงคาน เมืองเล็กๆ ที่ผู้คนมากมายกำลังให้ความสนใจ อยากที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวสักครั้ง ด้วยคำล่ำลือถึงความงามและสงบของเชียงคาน และผู้คนที่อัธยาศัยไมตรีดีนักหนา
เชียงคานตั้งอยู่ที่ จังหวัดเลย เป็นอำเภอหนึ่งที่มีอาณาเขตติดกับแม่น้ำโขงซึ่งกั้นเขตแดนไทยลาว ถามว่าเชียงคานมีอะไรน่าสนใจและอะไรสะดุดตาบ้างในเชียงคาน สิ่งที่เราเห็นถึงเสน่ห์ของเชียงคานอันดับแรก คงจะเป็น บ้านเรือนไม้ ที่ยังคงอนุรักษ์กันไว้ พร้อมกับการเกิดขึ้นของร้านของที่ระลึกนับสิบ และที่พักแบบเกสต์เฮาส์หรือโฮมสเตย์อีกมากมาย ที่พร้อมใจกันนำเอาอาคารไม้แบบดั้งเดิม มาตบแต่งเสียใหม่ให้น่ารักเก่ไก๋ แถมยังราคาไม่แพงอีกด้วย
ต่อมาคือเสน่ห์ริมโขง ธรรมชาติที่สวยงาม วิวที่เชียงคานนี้ สวยชนิดที่ว่า หาชมแบบนี้ได้ยากจากที่อื่น
จุดถ่ายรูป มีมากมายชนิดที่ว่า เที่ยวกัน3วันไม่แน่ว่าจะถ่ายกันหมดมั๊ย กับร้านเก๋ๆ ที่จัดมุมถ่ายรูปไว้เรียกลูกค้าล้วนแต่สวยๆน่าสนใจทั้งนั้น หลายร้านยังนิยมเล่นคำ กับป้าย พวกคำว่า “เลย” และคำว่า “คาน” อย่างเช่น รักเลย เชียงคาน , ระวัง(ขึ้น)คาน เป็นต้น แค่อ่านป้ายก็เพลินแล้ว
เชียงคานยังมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ในแง่มุมของผู้คน เพราะคนเชียงคาน คือ คนสายเลือดเดียวกับ หลวงพระบาง จึงมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันหลายอย่าง ตั้งแต่ภาษา หรือการตักบาตรข้าวเหนียว
สะดุดตากันไป ใครฝันจะไปเมืองคานส์ ที่ฝรั่งเศส ลองมาเมืองคาน ที่เลยนี้กันก่อน เพราะคนที่นี่เขาก็ติสไม่เบา มีศิลปินหลายคนย้ายตัวเองมาหาความสงบ สดชื่นอยู่ที่เชียงคาน ...วันนึงเราอาจจะเห็น เทศกาลภาพยนต์เมืองคาน จัดขึ้นที่ คาน เมืองไทย (เชียงคาน) หรือสาวๆจะไปแก้เคล็ดก็น่าสนใจ จะได้ไม่ขึ้นคาน ต้องมาเที่ยวเชียงคานนะจ๊ะ ...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)